1. หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้าย ๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้? พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25พฤศจิกายน 25141) หนังสือเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของมนุษย์ 2) หนังสือเป็นสิ่งสำคัญ 3) หนังสือเท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้ 4) หนังสือเป็นออมสิน
|
2. ?ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับ สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้ และยั่งยืน? พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐1) ความพอดี 2) การทำงานควรมีหลักเกณฑ์ 3) การทำงานไม่ควรเกินกำลัง 4) การสร้างฐานะควรรอบคอบและระมัดระวัง
|
3. ?การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า...แต่ก็จำเป็นต้องทำเพราะหาไม่...ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว? พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ว่าที่ร้อยตำรวจตรี โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๙1) ความชั่วทำง่ายกว่าความดี 2) ความดีมักสวนทางกับความต้องการมนุษย์ 3) การทำความดีนั้นยาก 4) ความชั่วพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว
|
4. ?ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูกการคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกลเพราะโลกเราในปัจจุบันจะวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตามก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอเพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาดและอคติต่างๆ มิให้เกิดขึ้นช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน? พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙1) ทุกปัญหามีทางแก้ไข 2) การทำงานด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ 3) แก้ปัญหาด้วยปัญญา 4) ไม่มีเครื่องมือใดดีกว่าการใช้ปัญญา
|
5. ?ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ? พระราชดำรัสพระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศครั้งที่ ๑๒ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓1) การเอาชนะใจตนเองเป็นสิ่งยาก 2) การใช้ธรรมะเพื่อค้ำจุนส่วนรวม 3) การใช้ธรรมะในการดำเนินชีวิต 4) การเอาชนะใจตนเอง
|
ต้องการเฉลยข้อสอบ โปรดเข้าระบบสมาชิก
|
|