ประวัติศาสตร์ไทย ม.ปลาย ชุดที่9

ประวัติศาสตร์ไทย คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. เพราะเหตุใดข้อมูลเดียวกันจึงถูกตีความต่างกัน
    ถูกตีความในพื้นที่ที่ต่างกัน
    ถูกตีความในช่วงเวลาที่ต่างกัน
    ถูกตีความจากทฤษฎีที่ต่างกัน
    ถูกตีความจากผู้ศึกษาที่ต่างกัน
2. อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอะไร
    พระพุทธศาสนาและศาสนาเชน
    พระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม
    พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาอิสลาม
3. การนับถือเทพเจ้าตามธรรมชาติของไทยเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร
    สังคมไทยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ จึงมีการเคารพและดูแลธรรมชาติ
    วัฒนธรรมไทยต้องอาศัยพึ่งพาธรรมชาติ จึงนับถือเทพเจ้าตามธรรมชาติ
    คนไทยเชื่อว่ามีเทพเจ้าอยู่ตามสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ จึงต้องกราบไหว้บูชาธรรมชาติ
    คนไทยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดจากเทพเจ้าตามธรรมชาติเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น
4. จารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร
    เป็นแหล่งเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
    เป็นแหล่งรายได้จากการท่องเที่ยว
    เป็นสถานที่รักษาโรคด้วยการนวดแผนโบราณ
    เป็นมรดกโลกตามประกาศขององค์การยูเนสโก
5. เราทราบได้อย่างไรว่าดินแดนไทยในปัจจุบันเคนมีอาณาจักรโบราณตั้งอยู่
    มีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเครื่องมือเครื่องใช้
    มีหลักฐานปรากฏในรูปของสิลาจารึก ตำนาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ
    ดินแดนประเทศไทยอุดมสมบูรณ์จึงน่าจะมีคนมาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยโบราณ
    คนไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากซึ่งแสดงว่าอยู่ในดินแดนนี้มาเป็นเวลานานแล้ว
6. ปัจจัยทางการเมืองในการสถาปนากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เหมือนกันอย่างไร
    สร้างเมืองหลวงที่มีแม่น้ำผ่ากลาง
    การทำสงครามกอบกู้อิสรภาพจากพม่า
    มีไพร่พลจำนวนมากทำให้สร้างเมืองได้รวดเร็ว
    เกิดปัญหาทางการเมืองภายในและความวุ่นวายขึ้นในอาณาจักรก่อน
7. เพราะเหตุใดแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยจากหนังสือหลักไทยจึงไม่น่าเชื่อถือ
    เทือกเขาอัลไตทุรกันดาล
    ผู้เขียนไม่ใช่นักประวัติศาสตร์
    คนไทยไม่รูจักเทือกเขาอัลไต
    เทือกเขาอัลไตกับไทยมีทะเลขวางกั้น
8. เราควรฝึกฝนความสามรถใดเพื่อประโยชน์ในการตีความข้อมูล
    รู้จักวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูล
    มีความอดทนในการอ่านเอกสารจำนวนมาก
    รู้จักการนำแนวคิดในปัจจุบันไปพิจารณาอดีต
    มีจินตนาการในการสันนิษฐานเหตุการณ์ในอดีต
9. เพราะเหตุใดเราจึงควรรวบรวมข้อมูลหลักฐานชั้นรองก่อน
    ไม่ต้องเสียเวลาในการตีความข้อมูล
    รวบรวมข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วกว่า
    ให้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายกว่าหลักฐานชั้นต้น
    ผ่านการพิจารณาความน่าเชื่อมาแล้ว
10. การรับวัฒนธรรมจากภายนอกมีข้อดีอย่างไร
    ไม่ต้องคิดค้นพัฒนาด้วยตนเอง
    รับความเจริญมาพัฒนาประเทศ
    ทำให้มีวัฒนธรรมเหมือนชาติอื่น
    มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
11. การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยมีประโยชน์อย่างไร
    ทำให้คนไทยเข้าใจหลักธรรมได้ง่ายขึ้น
    ทำให้คนไทยศรัทธาพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น
    ทำให้คนไทยเรียนรู้พระไตรปิฎกได้ด้วยตนเอง
    ทำให้คนไทยเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของพระภิษุดียิ่งขึ้น
12. บทบาทของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทางด้านอักษรศาสตร์ตรงกับข้อใด
    ทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสในระดับมหาวิทยาลัย
    ทรงแปลสนธิสัญญาที่ไทยทำไว้กับต่างประเทศ
    ทรงเขียนบทความวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ
    ทรงเป็นล่ามประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13. การกำหนดหัวเรื่องที่ดีควรทำอย่างไร
    กำหนดประเด็น ช่วงเวลาและพื้นที่ที่จะศึกษาให้ชัดเจน
    กำหนดหัวเรื่องอย่างกว้างๆ เพื่อที่จะศึกษาได้หลายประเด็น
    กำหนดหัวเรื่องที่มีคนศึกษาอยู่ก่อนแล้วจากหนังสือและบทความต่างๆ
    กำหนดหัวเรื่องอย่างแคบๆ เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาหาหนังสือหลายเล่ม
14. การแต่งตั้งพระบรมพระราชินีนาถในรัชการที่ 5 และรัชการที่ 9 เป็นผู้สำเร็จราชการสะท้อนถึงเรื่องใด
    ผู้ชายควรไว้วางใจภรรยาของตน
    พระมหากษัตริย์ไม่ไว้วางใจบุคคลอื่น
    ผู้หญิงควรช่วยเหลืองานของสามีให้มาก
    สตรีมีความสามรถในการปกครองบ้านเมือง
15. เพราะเหตุใดเราจึงควรศึกษาจากหลักฐานชั้นรองก่อนหลักฐานชั้นต้น
    เสียเวลาในการศึกษาน้อยกว่า
    ทำความเข้าใจข้อมูลได้ง่ายกว่า
    ได้ทราบว่าหลักฐานชั้นต้นชิ้นใดน่าเชื่อถือ
    หากได้ข้อมูลแล้วอาจไม่ต้องใช้หลักฐานชั้นต้น
16. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีความสำคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์
    เป็นหลักฐานหลักที่ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
    เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลซึ่งเข้าใจง่ายกว่าหลักฐานอื่น
    เป็นหลักฐานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก สะดวกในการรวบรวม
    เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดเมื่อเทียบกับหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
17. วิธีการใดจะช่วยในการประเมินคุณค่าของข้อมูล
    นำข้อมูลที่ได้จากหลักฐานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
    นำข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันจากหลักฐานต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน
    ตรวจสอบเวลาสร้างหลักฐานเพราะหลักฐานที่สร้างขึ้นก่อนจะน่าเชื่อถือมากกว่า
    ตรวจสอบการอ้างอิงจากหลักฐานชั้นรอง หากหลักฐานใดถูกอ้างอิงมากแสดงว่าน่าเชื่อถือ
18. เพราะเหตุใดจึงต้องรวบรวมผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญก่อนไปศึกษาหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรในสถานที่จริง
    เพื่อหาความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญ
    เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนไปศึกษาสถานที่จริง
    หากเข้าใจผลการศึกษาแล้วอาจไม่ต้องไปสถานที่จริง
    เพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน
19. อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในเรื่องใดมากที่สุด
    ศาสนา
    ศิลปกรรม
    เศรษฐกิจ
    การปกครอง
20. เพราะเหตุใดจึงต้องนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่
    สะดวกในการนำเสนอข้อมูล
    เพื่อเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ
    สะดวกในการพิจารณาข้อมูล
    เพื่อหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS