ชีวิตประจำวันกับการอ่าน
หน้าแรก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 21 ข้อขึ้นไป
กรอกชื่อจริง
กรอกนามสกุล
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ 10 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น 20 ข้อ 30 ข้อ 50 ข้อ
1. การอ่านหนังสือแบบใดที่เรียกว่า “อ่านไม่เป็น”
    อ่านเก็บรายละเอียดเฉพาะใจความสำคัญ แล้วนำมาเรียบเรียงถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษาของตน
    อ่านเพื่อค้นหาสาระของเรื่องที่อ่านว่าเป็นเรื่องใด และสามารถอธิบายรายละเอียดของเรื่องได้
    อ่านเก็บรายละเอียดที่เป็นประเด็นย่อยของเรื่อง แล้วนำมาวิเคราะห์และวิจารณ์เนื้อเรื่องได้
    อ่านพิจารณาหาเหตุผล และสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของเรื่องที่อ่านได้
2. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะเบื้องต้นที่สำคัญของผู้อ่านที่ดี
    ผู้อ่านที่ดีต้องเชื่อในสิ่งที่อ่านเป็นสำคัญ
    ผู้อ่านที่ดีต้องเข้าใจองค์ประกอบของการสื่อสาร
    ผู้อ่านที่ดีต้องอ่านเฉพาะประเด็นที่ตนเองสนใจเท่านั้น
    ผู้อ่านที่ดีต้องสามารถถ่ายทอดตามความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้
3. เหตุผลประการแรกของการอ่านที่ดี คือข้อใด
    รู้ประเภทของหนังสือ
    ตั้งใจอ่านอย่างมีสมาธิ
    สำรวจรายละเอียดหนังสือ
    กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะอ่าน
4. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะการอ่านที่ดี
    ปานวาดอ่านวารสารแม่และเด็กแล้วนำวิธีการเลี้ยงเด็กมาช่วยดูแลน้อง
    ธาดาอ่านนวนิยายเรื่องใหม่แล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอย่างสนุกสนาน
    นิชาอ่านข่าวสินค้าจะขึ้นราคาจึงรีบไปซื้อสินค้ามากักตุนไว้ที่บ้านทันที
    สุชาติอ่านวิธีการทำอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วนำมาทำให้ที่บ้านลองรับประทาน
5. วิธีการใด ไม่เป็นการอ่านบทความโน้มน้าวใจที่เหมาะสม
    ผู้อ่านควรอ่านบทความที่แสดงความรู้ ความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง
    ผู้อ่านควรเปิดใจรับสารที่อ่านและยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางความคิด
    ผู้อ่านควรพิจารณาความน่าเชื่อถือและความมีเหตุผลของบทความที่อ่าน
    ผู้อ่านตระหนักถึงเจตนาของผู้ส่งสารเป็นหลัก โดยมิต้องคำนึงถึงเหตุผล
6. การอ่านประเภทใดที่ต้องอาศัยประสบการณ์ช่วยพิจารณาเรื่องที่อ่าน
    การอ่านเอาเรื่อง
    การอ่านตีความ
    การอ่านวิเคราะห์
    การอ่านเก็บความรู้
7. ลักษณะสื่อใดที่มีการสื่อสารต่างจากข้ออื่น
    แผ่นพับ
    ป้ายโฆษณา
    อินเทอร์เน็ต
    โทรทัศน์
8. ข้อใดกล่าวถึงการอ่านจับใจความสำคัญได้ถูกต้อง
    พิจารณาว่าส่วนใดเป็นส่วนประกอบที่ขยายใจความให้ชัดเจนเป็นหลัก
    อ่านใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า แล้วต้องสามารถสรุปสาระสำคัญของเรื่องได้
    นำมาเรียบเรียงโดยคงภาษาตามเดิมที่ได้อ่านเพื่อให้เนื้อความนั้นไม่เปลี่ยนแปลง
    สามารถอธิบายและยกตัวอย่างที่นอกเหนือจากเรื่องที่อ่าน เพื่อทำให้เรื่องที่อ่านชัดเจนขึ้น
9. ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอนการอ่านได้ถูกต้อง
    ตั้งคำถามและหาคำตอบ��� สำรวจ��� อ่านจริงจัง��� ระลึกถึง�� ทบทวน
    สำรวจ�� ตั้งคำถามและหาคำตอบ�� อ่านจริงจัง�� ระลึกถึง�� ทบทวน
    ตั้งคำถามและหาคำตอบ� สำรวจ�� อ่านจริงจัง�� ทบทวน�� ระลึกถึง
    สำรวจ� อ่านจริงจัง ตั้งคำถามและหาคำตอบ� ทบทวน�� ระลึกถึง
10. แม้วอ่านสารคดีเรื่อง ภัยธรรมชาติ โดยมุ่งที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างละเอียดและพิจารณาหาเหตุผลของ�เรื่องที่อ่าน แม้วควรใช้วิธีการอ่านประเภทใด
    การอ่านเก็บความรู้
    การอ่านเอาเรื่อง
    การอ่านวิเคราะห์
    การอ่านตีความ
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
เพื่อนบ้านเว็บครูออฟ