ข้อสอบ O-NET วิชา ภาษาไทย ม.ปลาย ชุดที่ 3
หน้าแรก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
กรอกชื่อจริง
กรอกนามสกุล
ทุกครั้งที่เข้าทำแบบทดสอบเสร็จสมบูรณ์ จะได้รับแต้มเข้าใช้งาน 1 แต้ม | ส่วนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเพื่อออกใบรับรอง หากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น 20 ข้อ 30 ข้อ 50 ข้อ
1. หัวเรื่องสารคดีในข้อใด เมื่อนำมาเรียบเรียงจะมีเนื้อหาแตกต่างจากข้ออื่น
    กล้วยไม้สายพันธุ์ใหม่
    ผาน้ำตกนกแสนสวย
    ต้นกล้วยมหัศจรรย์
    วัฒน์ วรรลยางกูล กวีศรีบูรพา
2. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
    คนงานใหม่ขยันเป็นพักๆ เอาแน่ไม่ได้
    นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบๆ
    ในสวนสาธารณะมีคนออกกำลังกายกันประปราย
    ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา
3. ข้อใดมีคำประพันธ์ที่เหมือนกับคำประพันธ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ "กลางไพรไก่ขันบรรเลงฟังเสียงเพียงเพลงซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง"
    เร่งพลพาชีตีกระหนาบตัวนายชักดาบออกไล่หลัง
    ตีนงูงูไซร้หากเห็นกันนมไก่ไก่สำคัญไก่รู้
    ลิงค่างครางโครกครอกฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
    ไว้ปากไว้วากย์วาทีไว้วงศ์กวีไว้เกียรติและไว้นามกร
4. ชื่อเรื่องของเรียงความในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
    ยามเช้าที่โขงเจียม
    ทะเลงามยามสายัณห์
    ทุ่งทานตะวัน สีสันประเทศไทย
    สร้างชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. หลักการแรกของการเขียนสารคดีตรงกับข้อใด
    การเลือกเรื่อง
    การวางโครงเรื่อง
    การสำรวจเพื่อหาข้อมูล
    การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน
6. หลักการในข้อใดควรปฏิบัติในการตัดสินประเมินคุณค่างานเขียน
    อ่านและตีความ
    แยกแยะองค์ประกอบภายในเรื่อง
    วิเคราะห์องค์ประกอบภายในเรื่องอย่างรอบด้าน
    พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของเจ้าของผลงาน
7. กลวิธีการเขียนเรียงความในข้อใดส่งผลต่อการลำดับเนื้อหาสาระภายในเรื่อง
    การใช้ย่อหน้าที่ดีในการเขียนส่วนเนื้อเรื่องของเรียงความ
    การเลือกหัวข้อเรื่องที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มคนในสังคม
    การตั้งชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจ ครอบคลุมเนื้อหาของเรื่อง
    การเขียนสรุปให้ผู้อ่านประทับใจ และเน้นย้ำจุดมุ่งหมายของเรื่อง
8. พฤติกรรมของบุคคลใดสามารถอนุมานได้ว่าเนื้อหาของรายงานจะมีประสิทธิภาพ
    วัลภาเลือกศึกษาหัวข้อที่มีแหล่งข้อมูลอย่างหลากหลาย
    วัลลีเลือกศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจ และประเมินว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
    วัชรีเลือกศึกษาหัวข้อที่ตนเองไม่ถนัด เพื่อท้าทายความสามารถของตนเอง
    วัลลภเลือกศึกษาหัวข้อที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้วอย่างละเอียด เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้สะดวก
9. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนอ้างอิงแบบเชิงอรรถ
    การเขียนอ้างอิงแบบเชิงอรรถจะนำไปรวบรวมไว้ในส่วนท้ายของบรรณานุกรม
    การเขียนเชิงอรรถควรเขียนให้จบภายใน 1 บรรทัด
    การเรียงลำดับหมายเลขเชิงอรรถต้องเรียงลำดับตั้งแต่หมายเลข 1 ไปจนจบเล่ม
    รายละเอียดที่ระบุ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ จังหวัด และสถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ และหน้าที่คัดลอก
10. คำประพันธ์ในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
    เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
    รอนรอนอ่อนอัสดง พระสุริยงเย็นยอแสง ช่วงดังน้ำครั่งแดง แฝงเมฆเขาเงาเมรุธร
    เขาตกทะเลบก สิก็ตกทะเลไป คลื่นสีขจีใส ปะทะซ่าฉะฉ่าฉาน
    จำปาหนาแน่นเนื่อง คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม คิดคะนึงถึงนงราม
11. ข้อใดมีคำไทยแท้ทุกคำ
    นารีตกกระไดพลอยโจนกับบุรุษหลังจากดูใจกันมานาน
    พอฝนจะตกก็รีบกลับบ้านทันที
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตกลูกครั้งละตัว
    เพื่อนชวนเขาไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เขาจึงตกลงใจแต่งงานกัน
12. ข้อใดผู้อ่านควรใช้เสียงเน้นหนัก เพื่อให้เห็นความสำคัญของเนื้อหาทำให้เกิดความไพเราะ ชวนให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง
    เรื่องวัดพระเชตุพนฯ นี้ น่าจะไขความไว้ที่ตรงนี้ได้อีกหน่อย ผู้อ่านจะได้เข้าใจ
    ท่านพระครูไม่ยอมให้แก้ไขในบริเวณโบสถ์ที่ท่านเคยลงไปอยู่เมื่อต่อสู้กับพวกโจร
    กรุงสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าช้างค้า
    แม่มิเคยได้เคืองแค้นเหมือนครั้งนี้ เมื่อจากบุรีทุเรศมาก็พร้อมหน้าทั้งลูกผัวเป็นเพื่อนทุกข์ สำคัญ ว่าจะเป็นสุขประสายาก
13. การรับสารในข้อใด ผู้ฟังและดูจะต้องใช้วิจารณญาณมากที่สุด
    การฟังสัมมนาเรื่องโบราณคดีใต้น้ำ
    การฟังโฆษณาผ่านสถานีโทรทัศน์
    การฟังธรรมะผ่านสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย
    การฟังบทเพลงลูกทุ่งผ่านรายการลูกทุ่งยอดฮิต
14. ข้อใดมีการประสมอักษรเหมือนคำว่า สัมฤทธิ์
    พระเจ้า
    สามัญ
    เจ้าเล่ห์
    คำศัพท์
15. ข้อใดแสดงกระบวนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
    ได้ยิน ได้เห็น
    ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส
    ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รับรู้
    ได้ฟัง ได้เห็น ได้วิเคราะห์ ใคร่ครวญ ได้ประเมินค่าเพื่อนำไปใช้
16. ข้อควรคำนึงในการผลิตงานเขียนประเภทสารคดีคืออะไร
    การแทรกเกร็ดความรู้
    ควรมีรูปภาพประกอบ
    ควรตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
    ควรแสดงทรรศนะอย่างตรงไปตรงมา
17. ข้อใดให้คำจำกัดความของคำว่าการอ่านเพื่อวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านอย่างมีสมาธิ จดจ่ออยู่กับเรื่องที่อ่าน
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านอย่างมีวิจารณญาณไตร่ตรองรอบคอบ
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านเพื่อแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งที่อ่าน
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านเพื่อจำแนกประเภทสิ่งที่อ่านในชีวิตประจำวัน
18. คำว่า "ขัน" ข้อใดมีหน้าที่ของคำแตกต่างจากข้ออื่นมากที่สุด
    เขาพูดเรื่องขำขัน
    ไหนขันที่ฉันต้องการ
    เขาขันอาสาช่วยเหลือเรา
    เมื่อเช้านี้ ไก่ขันเสียงดังมาก
19. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรีมากที่สุด
    ประเพณีกินเจของชาวจีนมีอาหารเจขายมากมาย
    ร้านค้าขายโค้กยังติดธงเจสีเหลืองเลย
    ผัดหมี่ ผัดซีอิ๊ว และโกซีหมี่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
    เธอชอบกินอาหารเจใช่ไหม วันพรุ่งนี้ฉันจะซื้อมาฝาก
20. ลักษณะคำในข้อใดมีการกลายเสียง
    อย่างนี้-ยังงี้
    สะดือ-สายดือ
    หมากพร้าว-มะพร้าว
    ตะกรุด-กะตุด
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5


4. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
เพื่อนบ้านเว็บครูออฟ