สารและสมบัติของสาร ม.ปลาย ชุดที่2

สารและสมบัติของสาร คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 7 ข้อขึ้นไป
ข้อสอบชุดนี้แสดงผลแล้ว 3701 ครั้ง
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
ข้อสอบชุดนี้จำนวน 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อสอบ คลิก ทำแบบทดสอบออนไลน์
1. แกรไฟต์สามารถนำไฟฟ้าได้เพราะเหตุใด
    แรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์
    พันธะระหว่างคาร์บอนในแกรไฟต์เป็นพันธะโลหะ
    เมื่อจับพันธะแล้วยังเหลืออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อิสระ
    พันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนไม่แข็งแรง
2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโลหะ
    โลหะที่มีอะตอมขนาดเล็กจะมีพันธะโลหะที่แข็งแรง
    โลหะทุกชนิดมีสถานะของแข็ง มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง
    โลหะสามารถนำไฟฟ้าได้เนื่องจากมีอิเล็กตรอนที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
    โลหะบางชนิดเป็นโลหะอ่อนสามารถใช้มีดตัดได้
3. ปฏิกิริยาในข้อใดที่มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วที่สุด
    การบูดเน่าของอาหาร
    การระเบิดของดินปืน
    การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    การย่อยอาหารในร่างกายเรา
4. หากปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่งมีค่าพลังงานก่อกัมมันต์เท่ากับ 50 kJ/mol ถ้าหากเราเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไป จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
    ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
    ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ลดลงน้อยกว่า 50 kJ/mol
    ค่าพลังงานก่อกัมมันต์เพิ่มมากกว่า 50 kJ/mol
    ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น
5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสารประกอบโคเวเลนต์
    สารประกอบโคเวเลนต์ทุกชนิดสามารถละลายน้ำได้ดี
    สารประกอบโคเวเลนต์ที่มีสภาพขั้วแรงมากเมื่อละลายน้ำแล้วจะนำไฟฟ้าได้
    สารประกอบโคเวเลนต์มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำเมื่อเทียบกับสารประกอบไอออนิก
    สารประกอบโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมของธาตุอโลหะกับธาตุอโลหะ
6. การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
    การเกิดสนิมของเหล็ก
    การหายใจของสิ่งมีชีวิต
    การระเหิดของน้ำแข็งแห้ง
    การเผาไหม้ของเครื่องยนต์
7. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารชนิดใดเป็นแรงลอนดอน
    เอทิลแอลกอฮอล์
    น้ำ
    แก๊สออกซิเจน
    เกลือแกง
8. รังสีปริมาณเท่าใดที่เริ่มก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกาย
    125 มิลลิซีเวิร์ต
    250 มิลลิซีเวิร์ต
    500 มิลลิซีเวิร์ต
    1,000 มิลลิซีเวิร์ต
9. คำอธิบายในข้อใดเหมาะที่สุดที่จะอธิบายได้ว่า เมื่ออุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น
    ทิศทางในการชนกันของโมเลกุลเหมาะสมมากขึ้น
    พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาลดน้อยลง
    จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานก่อกัมมันต์เพิ่มมากขึ้น
    พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น
10. ข้อใดต่อไปนี้เป็นบทบาทของตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี
    ลดความแตกต่างระหว่างพลังงานของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์
    เพิ่มพลังงานให้กับโมเลกุลของสารตั้งต้น
    ลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา
    ช่วยเพิ่มอัตราการชนกันของโมเลกุลของสารตั้งต้น
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ ครับ

EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS