วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจ

วิชาที่ คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 7 ข้อขึ้นไป
ข้อสอบชุดนี้แสดงผลแล้ว 2287 ครั้ง
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
ข้อสอบชุดนี้จำนวน 42 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อสอบ คลิก ทำแบบทดสอบออนไลน์
1. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ประเทศไทยมีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
    สหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน
    สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี
    ญี่ปุ่น ออสเตรีย สวีเดน
    สวิสเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม
2. ถ้าในตารางกำหนดคลื่นความถี่ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก ประเทศไทยโดยหน่วยงานกำกับดูแลสามารถกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรองหรือไม่กำหนดให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นั้นได้หรือไม่
    ไม่ได้ เพราะประเทศไทยต้องกำหนดตารางกำหนดคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามตารางกำหนดคลื่นความถี่ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
    ได้ เพราะการบริหารจัดการและการกำกับดูแลเป็นเอกสิทธิของแต่ละประเทศ สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
    ไม่ได้ เพราะกิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นสากล ต้องเหมือนกันในทุกประเทศ
    ผิดทุกข้อ
3. ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
    นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
    นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
    นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
    ถูกทุกข้อ
4. ถ้าช่วงความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการรอง ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการใช้งานที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ และต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการรบกวนได้
5. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทยที่มีความประสงค์จะมาใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถนำเครื่องวิทยุมาจากต่างประเทศ เพื่อใช้งานในประเทศไทยได้ทันที
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถใช้งานความถี่ได้เท่ากับที่ได้รับอนุญาตในประเทศของตนเอง เมื่อใช้งานในประเทศไทย
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศที่มีความประสงค์จะใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศไทย โดยการยื่นขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น
    ไม่มีข้อใดถูก
6. พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องทำอย่างไร เมื่อได้รับการติดต่อจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดเป็นกิจการหลัก ว่าสัญญาณของพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นไปรบกวน
    เพิกเฉย ไม่สนใจ การแจ้งจากสถานีดังกล่าว
    สอบถามรายละเอียดการรบกวน แล้วใช้งานความถี่ต่อได้ตามปกติ
    สอบถามรายละเอียดการรบกวน ข้อมูลติดต่อประสานงานเพิ่มเติม และหยุดการใช้งานในทันที
    ลดกำลังส่งให้ต่ำลง แล้วใช้งานต่อไปได้ตามปกติ
7. ข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นที่ประเทศไทยมีข้อตกลงร่วมจนถึงปี พ.ศ. 2558 มีทั้งหมดกี่ประเทศ
    8 ประเทศ
    9 ประเทศ
    10 ประเทศ
    11 ประเทศ
8. กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงสามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ได้หรือไม่
    ไม่ได้ ต้องใช้กำลงตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
    ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศ เฉพาะใน Club station เท่านั้น
    ไม่ได้ ทุกกรณี
    ใช้ได้ โดยเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจยืนยันลักษณะทางเทคนิคตามที่ กสทช.กำหนด
9. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
    ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
    ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
    ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
    ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
10. การพิจารณาโทษในกรณีใด กสทช. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาโทษได้
    ใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
    ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    การรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
    จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ ครับ

EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS