ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 วิทยาศาสตร์ ม.3

ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 90 หรือ 18 ข้อขึ้นไป

13318 ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 วิทยาศาสตร์ ม.3

หน้านี้แสดงครั้งละ 20 ข้อบนเครื่องพิวเตอร์ทั่วไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. พิจารณาวงจรไฟฟ้า ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

    ตัวต้านทาน A ต่อขนานกับตัวต้านทาน B
    ตัวต้านทาน B ต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน C
    ตัวต้านทาน C ต่อขนานกับตัวต้านทาน D
    ตัวต้านทาน D ต่อขนานกับตัวต้านทาน B
2. ถ้ากระต่ายกินหญ้าที่มีพลังงานรวม 200 กิโลแคลอรี สุดท้ายเหยี่ยวจะได้รับพลังงานที่ส่งต่อมาถึงเท่าไร
    0.2 แคลอรี
    200 แคลอรี
    2 กิโลแคลอรี
    20 กิโลแคลอรี
3. นกพิราบกินข้าวสารเป็นอาหารและยังสามารถกินหนอนเป็นอาหารได้ด้วยควรจัดอยู่ในผู้บริโภคกลุ่มใด
    ผู้บริโภคพืช
    ผู้บริโภคสัตว์
    ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์
    ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์
4. สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่จัดเป็นผู้บริโภคประเภทเดียวกัน
    ไก่ วัว จิ้งจก
    เสือ แรด สิงโต
    กบ คางคก ยีราฟ
    ม้า แกะ กระต่าย
5. พิจารณากราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าของวงจรไฟฟ้าหนึ่ง ความต้านทานไฟฟ้าในวงจรนี้มีค่ากี่โอห์ม

    2 โอห์ม
    5 โอห์ม
    7 โอห์ม
    10 โอห์ม
6. ฉลากของอุปกรณ์ไฟฟ้าระบุไว้ว่า 220 โวลต์ 5 แอมแปร์ ความต้านทานของอุปกรณ์ไฟฟ้านี้เป็นเท่าไร
    40 โอห์ม
    44 โอห์ม
    47 โอห์ม
    55 โอห์ม
7. ข้อใดคือการอยู่ร่วมกันที่มีความสัมพันธ์แบบ -, -
1. ภาวะอิงอาศัย
2. ภาวะพึ่งพากัน
3. ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน
    ข้อ 1 เท่านั้น
    ข้อ 2 เท่านั้น
    ข้อ 2 และ 3
    ข้อ 1 2 และ 3
8. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
    พยาธิในลำไส้หนู
    โพรโทซัวในลำไส้ปลวก
    ราที่อาศัยอยู่ร่วมกับสาหร่าย
    แบคทีเรียไรโซเบียมในรากพืชตระกูลถั่ว
9. ถ้าต้องการให้มีกระแสไฟฟ้าในวงจร 1 แอมแปร์ โดยการต่อตัวต้านทาน 5 โอห์ม เพิ่มเข้าไปในวงจร จะต้องต่อตัวต้าน 5 โอห์ม อย่างไร

    ต่อตัวต้านทาน 5 โอห์ม อนุกรมกับวงจร
    ต่อตัวต้านทาน 5 โอห์ม อนุกรมกับตัวต้านทาน 30 Ω
    ต่อตัวต้านทาน 5 โอห์ม ขนานกับตัวต้านทาน 30 Ω
    ต่อตัวต้านทาน 5 โอห์ม อนุกรมกับตัวต้านทาน 20 Ω
10. ปัจจัยใดที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กัน
    อาหาร
    พลังงาน
    ที่อยู่อาศัย
    การหมุนเวียนของสาร
11. วงจรไฟฟ้าหนึ่งมีตัวต้านทาน 2 ตัว คือ X และ Y ถ้าต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน Y จะต้องต่อแอมมิเตอร์ในวงจรไฟฟ้าตามข้อใด




12. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
    กระแสไฟฟ้าไหลจากบริเวณที่มีความต้านทานสูงไปหาบริเวณที่มีความต้านทานต่ำ
    ลวดตัวนำที่มีความต้านทานสูงจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อย
    เมื่อบริเวณสองบริเวณมีความต่างศักย์มากจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้น้อยลง
    ในวงจรไฟฟ้า เมื่อเพิ่มจำนวนแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจะทำให้ความต้านทานรวมในวงจรลดลง
13. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใดที่เหมือนกัน
1.เห็บบนตัวสุนัข
2. กาฝากบนต้นไม้ใหญ่
3. กล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่
4. แบคทีเรียในรากพืชตระกูลถั่ว
    ข้อ 1 และ 2
    ข้อ 2 และ 3
    ข้อ 1 และ 4
    ข้อ 2 และ 4
14. เมื่ออุณหภูมิคงที่ ปริมาณกระแสไฟฟ้าในตัวนำไฟฟ้าจะเป็นอย่างไร
    แปรผันตรงกับความต้านทาน
    แปรผกผันกับพลังงานไฟฟ้า
    แปรผกผันกับกำลังไฟฟ้า
    แปรผันตรงกับความต่างศักย์
15. ในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่งมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น หญ้า ต้นไม้ กวาง กระต่าย แมลง มด เสือ และงู โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่อาศัยด้วยเรียกความสัมพันธ์ดังกล่าวว่าอย่างไร
    โซ่อาหาร
    ระบบนิเวศ
    กลุ่มสิ่งมีชีวิต
    สายใยอาหาร
16. วัดกระแสไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ได้เท่ากับ 0.01 แอมแปร์ ตัวต้านทานนี้มีค่าความต้านทานเป็นเท่าไร
    20 โอห์ม
    220 โอห์ม
    2,200 โอห์ม
    22,000 โอห์ม
17. กำหนดให้ตัวต้านทานทุกตัวมีความต้านทานเท่ากัน ถ้าแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากัน วงจรไฟฟ้าในข้อใดมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยที่สุด




18. จากแผนภาพวงจรไฟฟ้า ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

    กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรมีค่า 10 แอมแปร์
    กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 10 โอห์ม มากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 30 โอห์ม
    กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 10 โอห์ม มีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 20 โอห์ม
    กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 20 โอห์ม มีค่าน้อยกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 30 โอห์ม
19. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
    สายไฟฟ้าสามารถใช้แทนฟิวส์เส้นได้ในเวลาที่คับขัน
    สะพานไฟต้องต่อแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน
    ควรใช้สวิตช์อันเดียวในการเปิดและปิดวงจรไฟฟ้าหลายๆ วงจรเพื่อความสะดวก
    เมื่อเต้าเสียบอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำสามารถดึงเต้าเสียบออกจากเต้ารับโดยจับที่สายไฟได้ทันที
20. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศ
    น้ำ
    ดิน
    ป่าไม้
    อุณหภูมิ
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS