สอบเข้ามหาวิทยาลัย ภาษาไทย(2546) ชุดที่4
หน้าแรก
รหัสวิชา 81747 สอบเข้ามหาวิทยาลัย ภาษาไทย(2546) ชุดที่4
เพจนี้แสดงบนมือถือจำนวนครั้งละ 5 ข้อ ไม่ใช่สมาชิก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 10 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
1. ข้อใดแสดงแนวคิดที่ตรงกับคำประพัน์ต่อไปนี้มากที่สุด “ชนใดมีชาติข้า เลวทรามเพียรอุส่าห์พยายาม หมั่นหมั้นอยู่บดอยู่ฝนความ รู้แก่ ตนเฮยกลับยศใหญ่ยิ่งชั้น เช่นเชื้อผู้ดี”
    1) รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
    2) ดูผิวพรรณสรรพางค์อย่างคุลา แต่วิชาพางามขึ้นครามครัน
    3) อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
    4) ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย
2. ข้อใดพรรณนาภาพเคลื่อนไหวชัดเจนที่สุด
    1) บเห็นถ้าต่อรบ รู้ว่าทบบมิทาน รู้ว่าราญมิรอดคิดเททอดครัวแตก แหกหนีหน่าอย่าพะ
    2) เขาก็มละบ้านเมือง เปลืองเปล่าผู้หมู่ชน ชวนกันซนชวนกันซุกบุกป่าดงป่าแดง แฝงเอาเหตุเอาผล
    3) ขับทวยกล้าเข้าแพง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย
    4) พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบันเงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ
3. “ปัจจุบันภาษาไทยเราซบเซาลงไปมาก อันเนื่องมาแต่ความเห่อฝรั่ง ความจริงการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเราต้องติดต่อกับฝรั่ง และตำรับตำราวิชาการต่างๆ ก็เป็นภาษาฝรั่ง แต่การเรียนควรเป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรัก มิใช่เรียนเพื่อมาละเลิก หรือลืม ภาษาไทย คำฝรั่งคำใดที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยเราก็ควรแปลมาเป็นไทย คำใดที่ไม่มีในภาษาไทยอย่างเช่นศัพท์วิชาการต่างๆ จะใช้ทับศัพท์ก็สมควร”ข้อใดไม่ปรากฎในข้อความข้างต้น
    1) การเสนอประเด็นปัญหา
    2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
    3) การแสดงผลของปัญหา
    4) การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา
4. ข้อใดใช้กลวิธีการแต่งต่างจากข้ออื่น
    1) เปรียบแรงคชสารปานกลจักร ผาผลักชักลากราวหยากไย่
    2) ใหญ่เทียบภูผาท่าดุดัน เรี่ยวแรงแข็งขยันเชื่อควาญตน
    3) งางอนอ่อนช้อยทุกรอบกลึง ดูประหนึ่งกรกรายนางร่ายรำ
    4) เหมือนมีชีวิตสถิตร่าง ซุงแกะเป็นช้างย่างบาทได้
5. ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
    1) คิดคะนึงถึงนงราม ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
    2) นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
    3) ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฎสงัดคน
    4) โอ้น้ำใจในอุราทารกรรม เหมือนน้ำดำอยู่ในหนองเป็นฟองคราม

ต้องการเฉลยข้อสอบ โปรดเข้าระบบสมาชิก

แนะนำชุดข้อสอบ

1. ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ เรื่อง การปกครองท้องถิ่นไทย


2. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


3. O-net ภาษาไทย ม.3


4. วิชาสุขศึกษาม.1 ชุดที่13


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
ปรับปรุงและพัฒนา โดย เว็บครูออฟ