แนวสอบ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ชุดที่2
หน้าแรก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 21 ข้อขึ้นไป
กรอกชื่อจริง
กรอกนามสกุล
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น 20 ข้อ 30 ข้อ 50 ข้อ
1. พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ส่วนมากเป็นการพูดแบบใด
    พูดโดยฉับพลัน
    พูดโดยอาศัยต้นร่าง
    พูดโดยวิธีท่องจำ
    พูดโดยวิธีการอ่านจากต้นร่าง
2. ข้อใดเป็นการพูดเพื่อค้นหาคำตอบ
    การแสดงปาฐกถา
    การกล่าวรายงาน
    การอภิปราย
    การตั้งกระทู้ถาม
3. สำนวนภาษาชนิดใดที่มักพบในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
    สำนวนภาษาสามัญ
    สำนวนภาษาการประพันธ์
    สำนวนภาษาสื่อสารมวลชนและโฆษณา
    ทุกข้อรวมกัน
4. ข้อใดเป็นการพูดที่ไม่มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อน
    การบรรยาย
    การอภิปราย
    การตอบข้อชักถาม
    การโต้วาที
5. ในการใช้ภาษาของผู้พูด ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
    ผู้ฟัง
    พื้นฐานของผู้ฟัง
    ผู้ฟัง และโอกาสของผู้ฟัง
    ผู้ฟัง โอกาส และสถานที่
6. การพูดชักชวนให้ผู้อื่นบริจาคโลหิตต้องใช้คำพูดประเภทใด
    พูดจรรโลงใจ
    พูดให้ความรู้
    พูดโน้มน้าวใจ
    พูดค้นหาคำตอบ
7. ข้อใดคือการกล่าวในโอกาสพิเศษ
    ครูอธิบายความรู้ทางวิชาการในชั้นเรียน
    พ่ออบรมลูกคนเล็กในเรื่องความประพฤติ
    การอภิปรายไม่ไว้วางใจการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีของคณะผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน
    นายกรัฐมนตรีกล่าวคำปราศรัยเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
8. ข้อใดเป็นการให้ความหมายของการพูดต่อประชุมชนถูกต้องที่สุด
    การพูดในที่สาธารณะซึ่งมีผู้ฟังมาก
    การพูดตามชุมชนซึ่งมีคนอยู่รวมกันมากๆ
    การแสดงความรู้ ความคิดของตนเองต่อคนหมู่มาก
    การแสดงความรู้สึก ความคิด และข้อเสนอแนะต่อผู้ฟังจำนวนมากในที่สาธารณะ
9. ข้อใดเป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ
    การพูดโฆษณาสินค้า
    การกล่าวคำปราศรัย
    การกล่าวสดุดี
    การกล่าวรายงาน
10. สำนวนภาษาไทยในข้อใดมีความสำคัญในการสื่อสารมากที่สุด
    สำนวนภาษาสามัญ
    สำนวนภาษาการประพันธ์
    สำนวนการสื่อสารมวลชน และโฆษณา
    ทุกข้อรวมกัน
11. ข้อใดแสดงให้เห็นอวัจนภาษา
    ความรู้คือประทีป
    ส่งรักแล้วส่งยิ้ม
    ดวงตาคือหน้าต่างหัวใจ
    เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใดพี่เอย
12. การพูดต่อประชุมชน ผู้พูดควรใช้สายตาอย่างไร
    จ้องมองสนใจผู้ฟัง
    มองเฉพาะผู้สนใจฟัง
    มองผู้ฟังอย่างทั่วถึงกัน
    สอดสายตาไปมาโดยตลอด
13. ข้อใดจัดเป็นการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
    การพูดหาเสียง
    การกล่าวสดุดี
    การอภิปราย
    การกล่าวคำปราศรัย
14. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
    การพูดในโอกาสพิเศษมีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
    การกล่าวแสดงความยินดีไม่ควรชักชวนให้ผู้ฟังปรบมือ
    หลังจากกล่าวคำไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ซึ่งมีการกล่าวสดุดีคุณความดีผู้ตายและผู้พูดควรชักชวนผู้ฟังให้ปรบมือในคุณความดีของผู้ตาย
    "ข้อ 1, 2. และ 3."
15. ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้นขึ้นอยู่กับ
    ตัวสาร
    ผู้ส่งสาร
    ผู้รับสาร
    ตัวบุคคล และโอกาส
16. การพูดต่อประชุมชนประเภทใดมีความบกพร่องน้อยที่สุด
    การพูดโดยอาศัยต้นร่าง
    การพูดโดยการอ่านจากต้นร่าง
    การพูดโดยฉับพลัน
    การพูดโดยวิธีการท่องจำ
17. ข้อใดควรเป็นสถานการณ์ที่ต้องมีการกล่าวต้อนรับ
    งานเลี้ยงส่งผู้ร่วมงานเดินทางไปต่างประเทศ
    งานเลี้ยงฉลองผู้จบการศึกษา
    งานเลี้ยงฉลองตำแหน่งใหม่
    สมาชิกลาออกจากงานที่บริษัท
18. ?การพูดในโอกาสต่างๆ โดยการใช้ภาษาที่ไพเราะเหมาะสมกับโอกาสนั้นๆ? ข้อความดังกล่าวตรงกับข้อใด
    สุนทรพจน์
    การเล่าเหตุการณ์
    การให้คำแนะนำ
    การให้คำปรึกษา
19. น้ำเสียงในข้อใด แสดงความพึงพอใจ
    อุ๊ย! น่ารัก
    ว๊าย! ตาเถร
    อุ๊ย! ต๊ายตาย
    โอ๊ะ! อะไรนี่
20. ข้อใดไม่ควรกล่าวถึงในการกล่าวคำอวยพร
    ความสัมพันธ์ของผู้กล่าวกับเจ้าภาพ
    ขออภัยที่มิได้เตรียมตัวพูด
    คติหรือข้อคิดในการดำเนินชีวิต
    ให้พรอย่างจริงใจ
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5


4. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
เพื่อนบ้านเว็บครูออฟ