วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจ
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
ทุกครั้งที่เข้าทำแบบทดสอบเสร็จสมบูรณ์ จะได้รับแต้มเข้าใช้งาน 1 แต้ม | ส่วนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเพื่อออกใบรับรอง หากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ
42
ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น
20 ข้อ
30 ข้อ
50 ข้อ
1. ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน HF สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
200 วัตต์
500 วัตต์
1000 วัตต์
1500 วัตต์
2. ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก
50 ? 54 MHz
2300 ? 2450 MHz
3300 ? 3500 MHz
24 ? 24.05 GHz
3. หากหน้าจอเครื่องวิทยุแสดงความถี่ของสัญญาณเสียงพูดที่ 14.349 MHz ในโหมด USB และเราได้ยินสถานี DX เริ่มเรียก CQ ที่ความถี่ 14.349 MHz USB เราจะสามารถตอบกลับการเรียกนั้นด้วยโหมด USB ที่ความถี่เดียวกันนั้นได้หรือไม่
ได้ เพราะสถานี DX เป็นผู้เริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น
ได้ เพราะความถี่หน้าจอเครื่องวิทยุแสดงความถี่อยู่ในย่าน 20 เมตร
ไม่ได้ เพราะแถบความถี่ที่เราตอบกลับจะเกินกว่าขอบย่านความถี่ 20 เมตร
ไม่ได้ เพราะประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโหมดเสียงพูดที่ความถี่เกินกว่า 14.340 MHz
4. ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้วต่อมาได้กระทำผิดกรณีใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคลอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
5. อุปกรณ์ขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นสูงนำมาใช้งานนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ต้องผ่านการตรวจยืนยันลักษณะทางเทคนิคตามที่คณะกรรมการ กสทช. กำหนด
ต้องผ่านการตรวจประเมินระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน
ผิดทุกข้อ
6. กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงสามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ได้หรือไม่
ไม่ได้ ต้องใช้กำลงตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศ เฉพาะใน Club station เท่านั้น
ไม่ได้ ทุกกรณี
ใช้ได้ โดยเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจยืนยันลักษณะทางเทคนิคตามที่ กสทช.กำหนด
7. ถ้าในตารางกำหนดคลื่นความถี่ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก ประเทศไทยโดยหน่วยงานกำกับดูแลสามารถกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรองหรือไม่กำหนดให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นั้นได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะประเทศไทยต้องกำหนดตารางกำหนดคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามตารางกำหนดคลื่นความถี่ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
ได้ เพราะการบริหารจัดการและการกำกับดูแลเป็นเอกสิทธิของแต่ละประเทศ สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ไม่ได้ เพราะกิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นสากล ต้องเหมือนกันในทุกประเทศ
ผิดทุกข้อ
8. กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงสามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ได้หรือไม่
ไม่ได้ ต้องใช้กำลงตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศ เฉพาะใน Club station เท่านั้น
ไม่ได้ ทุกกรณี
ใช้ได้ โดยเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจยืนยันลักษณะทางเทคนิคตามที่ กสทช.กำหนด
9. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงกิจการหลัก และกิจการรองได้ถูกต้องที่สุด
สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก คือสถานีที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการรอง
สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง คือสถานีที่ได้รับสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
10. พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการพิจารณาโทษโดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ในกรณีใด
มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
ไม่มีข้อใดถูก
11. ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน 2200 เมตร สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
1 วัตต์ (e.i.r.p.)
100 วัตต์
200 วัตต์
1000 วัตต์
12. การพิจารณาโทษในกรณีใด กสทช. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาโทษได้
ใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
การรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น
13. ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีนำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดกรณีทำซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
14. ระวางโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่สั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการกระทำหรือให้ย้ายสิ่งที่กระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมโดยไม่เจตนา คือ
ปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องทำอย่างไร เมื่อได้รับการติดต่อจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดเป็นกิจการหลัก ว่าสัญญาณของพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นไปรบกวน
เพิกเฉย ไม่สนใจ การแจ้งจากสถานีดังกล่าว
สอบถามรายละเอียดการรบกวน แล้วใช้งานความถี่ต่อได้ตามปกติ
สอบถามรายละเอียดการรบกวน ข้อมูลติดต่อประสานงานเพิ่มเติม และหยุดการใช้งานในทันที
ลดกำลังส่งให้ต่ำลง แล้วใช้งานต่อไปได้ตามปกติ
16. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ในกรณีพิเศษเพื่อการใช้งานชั่วคราว สามารถกำหนดให้กลุ่มอักษรตามมีความยาวเกินกว่า 4ตัวอักษรได้
ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทยที่มีความประสงค์จะมาใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถนำเครื่องวิทยุมาจากต่างประเทศ เพื่อใช้งานในประเทศไทยได้ทันที
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถใช้งานความถี่ได้เท่ากับที่ได้รับอนุญาตในประเทศของตนเอง เมื่อใช้งานในประเทศไทย
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศที่มีความประสงค์จะใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศไทย โดยการยื่นขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ไม่มีข้อใดถูก
18. พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการพิจารณาโทษโดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราวเป็นเวลา ไม่เกินหกเดือน ในกรณีใด
มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
กระทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ถูกทุกข้อ
19. ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรอง
1.825 ? 2.000 MHz
430 ? 440 MHz
1240 ? 1300 MHz
ถูกทุกข้อ
20. การกระทำของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใดไม่อยู่ในโทษให้ได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่รับอนุญาต
ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารในสมุดบันทึก (log book) ประจำสถานีวิทยุคมนาคม
แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคลการส่งสัญญาณ
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ
1.
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1
2.
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน
3.
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5
4.
แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล
EDUCATION RESEARCH
|
Test Home
Version Thaitestonline.com |
Mobile
เพื่อนบ้าน
เว็บครูออฟ