วิชาสังคมศึกษาม.1 ชุดที่30

วิชาสังคมศึกษาม.1 คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมายเป็นอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลกลุ่มใด
    อำนาจของคณะรัฐมนตรี
    อำนาจของผู้พิพากษาหรือตุลาการ
    อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
    อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะประชาชนเลือกมาโดยตรง
2. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินได้อีกไม่เกินกี่คน
    30 คน
    35 คน
    40 คน
    45 คน
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 400 คน มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 200 คน และจากระบบสัดส่วนพรรคการเมือง 200 คน
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 480 คน มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และจากระบบสัดส่วนพรรคการเมือง 80 คน
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 540 คน มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 440 คน และจากระบบสัดส่วนพรรคการเมือง 100 คน
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 400 คน มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 324 คน และจากการคัดเลือกของจังหวัดๆ ละ 1 คน รวม 76 คน
4. การถ่วงดุลอำนาจหรือคานอำนาจเป็นเรื่องของการควบคุมการใช้อำนาจของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยลักษณะการตรวจสอบจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในทางทฤษฎีมุ่งการตรวจสอบระหว่างอำนาจใดกับอำนาจใด
    อำนาจนิติบัญญัติ กับอำนาจบริหาร
    อำนาจนิติบัญญัติ กับอำนาจตุลาการ
    อำนาจบริหาร กับอำนาจตุลาการ
    อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร กับอำนาจตุลาการ
5. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับระบอบการปกครองของไทยในปัจจุบัน
    ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย
    ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
    ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    ระบอบสหพันธรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. หากกฎหมายฉบับอื่นๆ มีข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนขัดกับรัฐธรรมนูญ นักเรียนคิดว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
    ได้ เพราะเป็นกฎหมายคนละฉบับที่ไม่เกี่ยวกัน
    ได้ เพราะจุดประสงค์ในการบังคับใช้แตกต่างกัน
    ไม่ได้ เพราะกฎหมายอื่นๆ ไม่ได้ร่างจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
    ไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมายอื่นๆ ต้องใช้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น
7. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนเท่าใด มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
    10,000 คน
    20,000 คน
    30,000 คน
    50,000 คน
8. ข้อใดตรงกับความหมายของรัฐธรรมนูญมากที่สุด
    เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
    เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพของประชาชน
    เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์กรสำคัญๆ ในประเทศไทย
    เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นกติกาควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
9. ข้อใดระบุความสำคัญของรัฐธรรมนูญได้ดีที่สุด
    แสดงถึงการมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    ทำให้แบ่งโครงสร้างการเมืองได้อย่างชัดเจน
    ช่วยให้ประชาชนรู้ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไร
    เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
10. ในกรณีที่ประชาชนพบว่า ผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี มีพฤติกรรมทุจริตหรือร่ำรวยผิดปกติและต้องการให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จะต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่ากี่คนและยื่นขอถอดถอนต่อบุคคลใด
    ประชาชน 20,000 คน ยื่นต่อประธานวุฒิสภา
    ประชาชน 10,000 คน ยื่นต่อประธานวุฒิสภา
    ประชาชน 20,000 คน ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
    ประชาชน 10,000 คน ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
11. ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องคุณสมบัติของบุคคลที่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
    ต้องเป็นสมาชิกวุฒิสภาในขณะได้รับการแต่งตั้ง
    ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะได้รับการแต่งตั้ง
    ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคเดียวกับนายกรัฐมนตรี
    ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น
12. การใช้สิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ต้องสอดคล้องกับหลักการในข้อใด
    ใช้สิทธิเสรีภาพได้ตามความพึงพอใจ
    ใช้สิทธิเสรีภาพได้ตามที่รัฐกำหนด
    ใช้สิทธิเสรีภาพได้แต่ต้องไม่ไปละเมิดผู้อื่น
    ถ้ารวมเป็นม็อบสามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้เสรี
13. ข้อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามยุคสมัยและรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ
    จำนวนสมาชิกรัฐสภาและการได้มาของสมาชิกรัฐสภา
    ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้
    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
    พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะ อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
14. ข้อใดเป็นคุณสมบัติประการสำคัญ ซึ่งบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย ต้องมีตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนด
    นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง เพื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี
    นายกรัฐมนตรีต้องเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์
    นายกรัฐมนตรีต้องมีเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากประชาชนภาคใดภาคหนึ่ง
    นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมัยนั้น
15. คุณสมบัติข้อใดที่สมาชิกวุฒิสภาไม่มีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
    มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
    มีสิทธิพิจารณาร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
    มีอำนาจให้ความเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
    มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติกรรมทุจริตหรือร่ำรวยผิดปกติ
16. อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบันคือจำนวนด้านใดและบุคคลหรือคณะบุคคลใดเป็นผู้ใช้อำนาจนี้
    อำนาจในการออกกฎหมาย โดยรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจ
    อำนาจในการใช้กฎหมาย โดยผู้พิพากษาเป็นผู้ใช้อำนาจนี้
    อำนาจในการบริหารประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจนี้
    อำนาจในการออกกฎหมาย โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจนี้
17. วิชาสังคมศึกษาม.1 ชุดที่30
    value=1>
    value=2>
    value=3>
    value=4>
18. อำนาจบริหารเป็นอำนาจในการบริหารปกครองประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายใด
    อำนาจของบรรดาผู้พิพากษาหรือตุลาการ
    อำนาจของคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด
    อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาร่วมกัน
    อำนาจของพระมหากษัตริย์โดยตรง โดยมีคณะองคมนตรีเป็นผู้ให้คำปรึกษา
19. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในเรื่องอำนาจตุลาการ
    ศาลใช้อำนาจตุลาการภายใต้ปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
    ศาลทั้ง 4 ลักษณะ คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร ต่างเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกัน
    ศาลทั้ง 4 ลักษณะต่างตัดสินคดีภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
    ศาลทั้ง 4 ลักษณะสามารถใช้ดุลยพินิจโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
20. อำนาจในการให้ความเห็นชอบในกิจการสำคัญของประเทศที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ให้เป็นอำนาจของรัฐสภา ยกเว้นข้อใด
    การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    การแต่งตั้งองคมนตรี
    การสืบราชสมบัติ
    การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


2. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน ม.3


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS